มาลองใช้ MS Excel ช่วยแก้ระบบสมการเชิงเส้่นกันเถอะ

แก้ระบบสมการเชิงเส้นด้วย MS Excel สำหรับระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรที่สามารถหาคำตอบได้ จะเขียนอยู่ในรูปทั่วไปได้เป็น a1X+b1Y = c1....

โจทย์ระบบสมการเชิงเส้น

พอดีไปเห็น โจทย์เรื่องระบบสมการเชิงเส้ นในกูรูมา ว่าจะตอบแค่คำตอบก็กะไรอยู่ เลยทำเฉลยเป็นไฟล์วีดีไว้ พอทำแล้วก็นึกได้ถึงจัดมาเรีย...

สมการเชิงเส้นเขาแก้กันอย่างไร?

สมการเชิงเส้นเขาแก้กันอย่างไร? ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ สมการเชิงเส้น กันเสียก่อนว่าคืออะไร สำหรับสมการเชิงเส้นนั้นว่ากันง่ายๆก็คือสมก...

แก้โจทย์สมการกำลังสองด้วยทฤษฎีบทเศษเหลือ

โจทย์คณิตศาสตร์อีกข้อ ที่ใช้ ทบ. เศษเหลือมาช่วยหาคำตอบ ทางเวบสอนการบ้านออนไลน์ นำมาแสดงวิธีทำอย่างง่ายๆ อยู่ในวีดีโอ แล้วก็รูปเลือกดูได้ตา...

มาทำความรู้จักกับฟังก์ชันและสมการเชิงเส้นกัน

มาทำความรู้จักกับฟังก์ชันและสมการเชิงเส้นกัน สมการเชิงเส้นและฟังก์ชันเป็นพื้นฐานของพีชคณิตและการเขียนกราฟ ซึ่งบางคนการเขียนกราฟของส...

Friday, September 28, 2012

มาทำความรู้จักกับฟังก์ชันและสมการเชิงเส้นกัน


มาทำความรู้จักกับฟังก์ชันและสมการเชิงเส้นกัน


สมการเชิงเส้นและฟังก์ชันเป็นพื้นฐานของพีชคณิตและการเขียนกราฟ ซึ่งบางคนการเขียนกราฟของสมการเชิงเส้นคงมีความยุ่งยากไม่ใช่น้อย แต่ถ้ามีเทคนิดและการฝึกฝนบ่อยๆแล้ว การเขียนกราฟของฟังก์ชันและสมการเส้นตรง ก็กลายเป็นเรื่องง่าย เหมือนปอกกล้วยเข้าปากเลยทีเดียว



เล่าประวัติกันหน่อย
พีชคณิตเป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์ที่นักคณิตศาสตร์หลากหลายคน ช่วยกันคิดค้นขึ้น โดยหนึ่งในนั้นคือ เดสคาร์ท (Descartes) ได้นำเสนอการเขียนกราฟระหว่างคู่อันดับ x และ y ในขณะที่ยังพบหลักฐานที่พอจะอ้างอิงได้ว่า ก่อนที่จะมีการศึกษาคณิตศาสตร์จนสามารถตั้งเป็นกฎมากมายในยุโรปนั้น ได้มีการศึกษาเรื่องดังกล่าวเกิดขั้นที่ประเทศจีนก่อนหน้าแล้วด้วย ดูๆไปหลายเรื่องก็ดูเหมือนจะกำเนิดจากจีน แต่ไม่มีหลักฐานปรากฎให้เห็นชัดเท่านั้นเอง

พีชคณิตเชิงเส้นหน้าตาเป็นอย่างไร
โดยทั่วไปแล้วเราพบว่าพีชคณิตเชิงเส้นก็คือสมการที่อธิบายถึงกลุ่มของข้อมูลที่สามารถนำไปเขียนลงในพิกัดคาร์ทีเซียน (แกน x แกน y ที่เรารู้จักกันนั้นหละ) และเป็นเส้นตรงนั้นเอง สำหรับสมการเชิงเส้นก็คือสมการที่ประกอบด้วยตัวแปร 2 ตัวโดยที่คำตอบของสมการดังกล่าว แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสองสามารถนำมาเขียนเป็นกราฟเส้นตรงได้ ยกตัวอย่างเช่น 5x+5y = 10 คำตอบของสมการจะเป็นคู่อันดับซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่า x และ ค่า y ส่วนสมการ 2x -6 = 4 เราจะได้คำตอบคือ x =5 ซึ่งเป็นเพียงคำตอบเดียว

 ฟังก์ชันเชิงเส้น
ฟังก์ชันเชิงเส้น คือฟังก์ชันที่มีคำตอบขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปรต้นของฟังก์ชันนั้นๆ โดยทั่วไปแล้วจะเขียนอยู่ในรูป f(x) = 4x-2 ซึ่งจะอ่านกันว่า “f ออฟ x เท่ากับ สี่ x ลบ 2ซึ่งในการหคำตอบของฟังก์ชัน เราจะเปลี่ยน f(x) ให้อยู่ในรูปตัวแปร y ซึ่งช่วงของคำตอบที่เป็นไปได้ทั้งหมดของสมการสามารถแสดงได้ด้วยกราฟเส้นตรง หรืออาจจะหาได้โดยการแก้สมการหาค่า x ที่ค่า y ต่างๆ ก็ได้

สมการเชิงเส้นแก้กันอย่างไร
ในการแก้สมการเชิงเส้น ต้องจำไว้เสมอว่า สมการเชิงเส้นจะมีคำตอบเดียวในกรณีที่มีตัวแปรเดียว แต่ถ้าเป็นสมการที่มีสองตัวแปรแล้ว คำตอบที่ได้จะแสดงเป็นช่วงคำตอบซึ่งเป็นคู่อันดับและสามารถนำไปเขียนกราฟได้
ตัวอย่างเช่น สมการ 3X-12 = 3 จะมีคำตอบเดียว คือ x = 5 ซึ่งหาได้โดย การย้ายข้างสมการตามลำดับดังนี้ 3x = 3+12; 3x=15; และ x = 15/3 = 5; ดังนั้น จึงได้ค่า x = 5 ส่วนในกรณี 2x +5y = 4; จะพบว่ามีสองตัวแปร ดังนั้นคำตอบของสมการดังกล่าวจะหาได้ด้วย การใช้กราฟ

มาเขียนกราฟกัน
จากสมการ 2x +5y = 4 เราจะเขียนกราฟสมการนี้ได้ จะต้องจัดรูปให้อยู่รูปของ สมการเชิงเส้นที่บ่งบอกถึง ค่าความชันและจุดตัดแกนของกราฟเสียก่อน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสมการเส้นตรงจะแสดงในรูป y = ax +b โดยที่ a คือความชันของกราฟ และ b คือจุดตัดแกน จากนั้นสามารถเขียนกราฟได้โดยการแทนค่า ตัวแปรเพื่อหา คู่อันดับ (x,y) ที่สอดคล้องกับสมการ จากนั้นนำชุดของคู่อันดับดังกล่าวไปเขียนกราฟ
มาดูวิธีการจัดรูปสมการให้อยู่ในรูปทั่วไป y = ax +b วิธีการนี้ ทำได้โดยการย้ายค่าตัวแปรต่างชนิดกันให้อยู่ คนละด้าน จากนั้น นำสัมประสิทธิ์หน้าตัวแปร y ไปหารอีกด้านของสมการ ดังนั้น จากตัวอย่างข้างต้นจะได้ว่า 2x +5y = 4; 5y = -2x +4; y = -(2/5)x+(4/5); เมื่อเทียบกับรูปทั่วไปจะได้ว่า ความชันเท่ากับ -2/5 และ จุดตัดแกน y คือ 4/5 = 0.8 นั่นคือจะได้จุดของคู่อันดับแรก คือ (0,0.8)
ส่วนอีกจุดหนึ่งหาได้จากการพิจารณาความชัน ซึ่งจากความชัน -(2/5) หมายความว่า มีการเลื่อนค่าของแกน y ลดลงไปเท่า 2 และมีค่าของแกน x เพิ่มค่าขึ้นจากเดิมไป 5 ดังนั้น เมื่อจุดแรกคือ (0,0.8) ก็จะได้จุดของคู่อันดับที่สองคือ (0+5,0.8-2) = (5,-1.2) นั่นเอง เมื่อนำคู่อันดับที่ได้ทั้งสองไปลงจุดบนกราฟแล้วลากเส้นตรงให้ตัดจุดทั้งสองก็จะได้ กราฟของสมการเส้นตรงของ สมการ 2x +5y = 4
จากนี้ไป ความเชี่ยวชาญของเรา ก็คงต้องขึ้นอยู่กับการฝึกฝนแล้วละครับ...ท่องไว้ ยิ่งฝึกก็ยิ่งเชี่ยวชาญ...

Wednesday, September 12, 2012

มาลองใช้ MS Excel ช่วยแก้ระบบสมการเชิงเส้่นกันเถอะ


แก้ระบบสมการเชิงเส้นด้วย MS Excel


สำหรับระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรที่สามารถหาคำตอบได้ จะเขียนอยู่ในรูปทั่วไปได้เป็น  a1X+b1Y = c1 และ a2X+b2Y = c2 คำตอบของสมการที่สอดคล้องกับระบบสมการนี้ค่า X และ Y โดยที่ "a1," "a2," "b1," "b2," "c1" และ c2 คือ สัมประสิทธิ์ของสมการ โดยที่วิธีการในการแก้ระบบสมการเชิงเส้นนั่นำได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นก็คือ การใช้กฎของ เครเมอร์ (Cramer's rules) ซึ่งสามารถแก้สมการได้โดยใช้เมตริกซ์สามตัวที่ประกอบด้วยสัมประสิทธิ์ของระบบสมการเชิงเส้น โดยที่วิธีนี้สามารถนำเอาไมโครซอฟต์แอกเซล (MS Excel) มาช่วยอำนวยความสะดวกในการแก้สมการให้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้ได้คำตอบได้รวดเร็ว และยังสามารถนำไปไว้ใช้ในการตรวจคำตอบของระบบสมการที่ได้จากการแก้สมการด้วยวิธีอื่นได้อีกด้วย น้องๆเองสามารถนำไปตรวจคำตอบของการบ้านได้ เพื่อความถูกต้องได้อีกระดับหนึ่ง

ขั้นแรกต้องสร้างไฟล์ Ms Excel เสียก่อน ตามขั้นตอนกันเลย

  •        เปิดโปรแกรม MS Excel  แล้วสร้างชีทใหม่
  •        คลิกที่ เซลล์  “A4” แล้วป้อนข้อมูลดังนี้ ‘ = A2*B3-A3*B2 แล้วเคาะ Enter
  •        คลิกที่ เซลล์  “B4” แล้วป้อนข้อมูลดังนี้ ‘ = C2*B3-C3*B2 แล้วเคาะ Enter
  •        คลิกที่ เซลล์  “C4” แล้วป้อนข้อมูลดังนี้ ‘ = A2*C3-A3*C2 แล้วเคาะ Enter
  •        คลิกที่ เซลล์  “A5แล้วป้อนข้อมูลดังนี้ ‘ = B4/A4’ แล้วเคาะ Enter
  •        คลิกที่ เซลล์  “C5แล้วป้อนข้อมูลดังนี้ ‘ = C4/A4’ แล้วเคาะ Enter
  •        ขั้นตอนสุดท้าย ทำการบันทึกไฟล์ไว้ใช้งาน

ขั้นตอนการแก้สมการ

  •        เปิดไฟล์ที่ทำการบันทึกไว้ จากขั้นตอนแรก
  •        ป้อนค่าสัมประสิทธิ์ของสมการแรกลงในช่อง A2,B2 และ C2 เรียงตามลำดับ
  •        ป้อนค่าสัมประสิทธิ์ของสมการที่สองลงในช่อง A3,B3 และ C3 เรียงตามลำดับ
  •        คำตอบที่ได้จะปรากฎในช่อง ‘A5คือ X  และ  ‘C5 คือ Y   ตามลำดับ

Monday, September 10, 2012

สมการเชิงเส้นเขาแก้กันอย่างไร?


สมการเชิงเส้นเขาแก้กันอย่างไร?

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับสมการเชิงเส้นกันเสียก่อนว่าคืออะไร สำหรับสมการเชิงเส้นนั้นว่ากันง่ายๆก็คือสมการที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ที่เป็นเส้นตรงอื่น โดยสามารถเขียนได้รูปทั่วไปได้เป็น f(x) = ax +b  เมื่อ a และ b คือค่าคงที่ หรือบางครั้งเราจะเห็นอยู่ในรูป y = ax +b นั่นเอง สำหรับค่าคงที่ a นั่นจะแสดงถึงความชันของเส้นตรงที่ได้จากกราฟ ส่วน b แสดงถึงจุดตัดแกน y ของกราฟสมการเชิงเส้น นั่นเอง ข้อสังเกตสำหรับสมการเชิงเส้นนั่นง่ายมาก เพียงสังเกตตัวแปร x ซึ่งเป็นตัวแปรต้นของสมการเส้นตรงจะต้องมีเลขยกกำลังหนึ่งเท่านั้น

หลากวิธีการแก้สมการเชิงเส้น

  •        สำหรับสมการแบบง่ายๆ แค่ย้ายข้างครั้งเดียวก็ได้คำตอบ ซึ่งอยู่ในรูป x+ a = b  สมการเชิงเส้นแบบนี้ แก้ได้ง่ายๆ โดยการจับย้ายข้างสมการ โดยแยกตัวแปร ให้อยู่กันคนละด้านกับค่าคงที่ ตัวอย่างเช่น  x-5 = 10 ก็จะได้  x= 10-5 = 5 , x + 8 = 10 จะได้ x = 10-8 = เป็นต้น มีสังเกตง่ายๆ สำหรับการย้านข้างสมการก็คือ ถ้ามีการสลับข้างเมื่อไร ก็แค่เปลี่ยนเครื่องหมายเป็นตรงกันข้ามกับของเดิมก็เท่านั้นเองครับ

  •        สมการแบบต่อไปก็คือสมการที่ต้องจัดการย้ายข้างสองครั้งถึงจะได้คำตอบ ซึ่งจะอยู่ในรูป ax+b = c  สำหรับสมการประเภทนี้ก็เริ่มด้วยการแยกตัวแปรอยู่ด้านหนึ่งส่วนค่าคงที่ไปอยู่อีกด้าน แต่ต้องทำเพิ่มจากแบบแรก อีกชั้นตอน เพื่อทำให้อีกข้างเหลือเพียงตัวแปรอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่างเช่น 3x+5 = 17 จะได้ 3x = 17-5 = 12, x = 12/3 =4, อีกตัวอย่างเช่น 2x -5 = 5 จะได้ 2x = 5+5 =10, x =10/5 = 2 เป็นต้น

  •        ในกรณีของสมการเชิงเส้นที่มีตัวแปรอยู่ทั้งสองข้างของสมการ เช่น 2x+3 =4x-15 วิธีการก็ยังเหมือนเดิม คือจัดการย้ายข้างตัวแปรและ ค่าคงที่ของสมการเส้นตรงไปอยู่คนละด้านกันก็เท่านั้น ดังนั้นจากตัวอย่างจะได้  2x-4x =-15-3 ,-2x = -18, จะได้ x = -18/-2 = 9 เป็นต้น

  •         สมการเส้นตรงที่อยู่ในรูป a(x+b) ให้จัดการกระจายพจน์ในวงเล็บให้เรียบร้อยก่อน จะได้ ax + bx จากนั้นก็แก้สมการตามเดิม  คือแยกตัวแปร กับค่าคงที่ไว้คนละข้างของสมการ เช่น 2(x+1) = 3(x -11)  จะได้ 2x+2 = 3x -33, -x = -35, นั้น  x = 35

  •         สมหรับสมการเชิงเส้น ที่มีมากกว่าพจน์เดียว จากหลายกรณีก่อนหน้าเราเห็นว่า ในแต่ละด้านมีพจน์ตัวแปรแค่พจน์เดียว แต่สำหรับในสมการเชิงเส้นหรือสมการเส้นตรงที่ยากขึ้น ในแต่ละข้างของสมการจะมีพจน์ที่เป็นตัวแปร มากกว่าหนึ่งพจน์ เช่น 2x + 3(x-3) = 4(x+2) + 9 ในกรณีนี้ ต้องจัดการในแต่ละข้างของสมการให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วค่อยจัดการย้ายข้างตัวแปร เพื่อที่จะหาค่า x ต่อไป ดังนั้นในตัวอย่างจะได้ว่า 2x + 3x-9 = 4x+8 +9, 5x-9 = 4x+17, 5x-4x = 17+9, x = 26 เป็นต้น

  •         ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการตรวจคำตอบครับ เมื่อได้คำตอบมาแล้วก็ทำง่ายๆ เพียงนำค่าที่ได้แทนกลับเข้าไปในสมการเดิม ถ้าสมการเป็นจริง คือทั้งสองข้างสมการเส้นตรงเท่ากัน ก็แสดงว่าคำตอบที่ได้ถูกต้อง แต่ถ้าไม่เท่ากันหรือไม่เป็นจริง ก็แสดงว่า คำตอบที่เราได้มานั้น ผิด อาจจะผิดตอนขั้นตอน หรือ ตอนบวกลบเลข ก็ได้ทั้งนั้น  สามารถย้อนกลับไปตรวจสอบใหม่ได้

โจทย์ระบบสมการเชิงเส้น

   
   พอดีไปเห็นโจทย์เรื่องระบบสมการเชิงเส้นในกูรูมา  ว่าจะตอบแค่คำตอบก็กะไรอยู่ เลยทำเฉลยเป็นไฟล์วีดีไว้ พอทำแล้วก็นึกได้ถึงจัดมาเรียบเรียงไว้เผื่อจะได้ใช้ประโยชน์ สำหรับคนอื่นๆที่ อยากรู้ จะได้เข้ามาหาดูได้ง่าย รวบถึงอยากถามเพิ่มเติม จะได้นำมาถาม มาตอบในที่เดียวกัน

        จริงๆแล้วสำหรับโจทย์คณิตศาสตร์ การบ้านคณิตศาสตร์ทุกระดับชั้น นั้นไม่ได้ยากเกินความสามารถของผู้เรียนหรอก เพียงยังขาดประสบการณ์และ ขาดคนช่วยชี้ แนะ แนวทางเท่านั้นเอง ทางเราหวังว่า คงจะพอช่วยชี้แนะ แนวทางการทำโจทย์คณิตศาสตร์ การบ้านคณิตศาสตร์ให้กับทุกท่านได้ สมหวังครับ...








Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More